สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 18-24 พฤษภาคม 2558

ข่าวสัปดาห์ วันที่ 18-24 พ.ค. 2558

ไหม

     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,659 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,323 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,091.20 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,090.60 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06

ยางพารา

1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ 

     ราคายางพารายางแผ่นดิบมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น อาจเนื่องมาจากเงินบาทและเงินเยนอ่อนค่า และได้รับแรงหนุนจากอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับนักลงทุนคลายความกังวลหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุว่าจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.43 บาท เพิ่มขึ้นจาก 50.39 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.04 บาท หรือร้อยละ 4.05 
     2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.93 บาท เพิ่มขึ้นจาก 49.89 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.04 บาท หรือร้อยละ 4.09 
     3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.43 บาท เพิ่มขึ้นจาก 49.39 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.04 บาท หรือร้อยละ 4.13 
     4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.78 บาท เพิ่มขึ้นจาก 23.17 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.61 บาท หรือร้อยละ 2.63 
     5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.47 บาท ลดลงจาก 20.89 บาท ของสัปดาห์ที่แล้ว กิโลกรัมละ 0.42 บาท หรือร้อยละ 2.07 
     6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.95 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.70 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.25 บาท หรือร้อยละ 4.72 
     ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคายางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 , ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และ ยางแผ่นดิบคละ

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมิถุนายน 2558

  ณ ท่าเรือกรุงเทพ 
     1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.95 บาท เพิ่มขึ้นจาก 62.90 บาท ของสัปดาห์ ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.05 บาทหรือร้อยละ 0.08 
     2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.80 บาท เพิ่มขึ้นจาก 61.75 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.05 บาทหรือร้อยละ 0.08
     3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.59 บาท เพิ่มขึ้นจาก 39.15 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.44 บาท หรือร้อยละ 3.68

ท่าเรือสงขลา 
     1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.70 บาท เพิ่มขึ้นจาก 62.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.05 บาท หรือร้อยละ 0.08
     2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.55 บาท เพิ่มขึ้นจาก 61.50 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.05 บาท หรือร้อยละ 0.08 
     3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.34 บาท เพิ่มขึ้นจาก 38.90 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.44 บาท หรือร้อยละ 3.70

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
     ราคายางพาราซื้อขายล่วงหน้า ณ เดือนมิถุนายน ตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์มีทิศทางปรับตัวลดลงเล็กน้อย อาจเนื่องมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ยางอันดับหนึ่งของโลกที่จะส่งผลให้อุปสงค์ยางโดยรวมยังคงซบเซา สำหรับตลาดล่วงหน้าโตเกียวมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น อาจเนื่องมาจากได้รับแรงหนุนจากการคาดว่ารัฐบาลจีนจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ถึงภาวะอ่อนแอของเศรษฐกิจ

ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมิถุนายน 2558
ยางแผ่นรมควันชั้น 3 
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 183.10 เซนต์สหรัฐฯ (60.85 บาท) ลดลงจาก 183.13 เซนต์สหรัฐฯ (61.05 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.03 เซนต์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 0.01 
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 215.87 เยน (59.38 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 214.83 เยน (59.53 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.04 เยน หรือร้อยละ 0.48

ข่าวสัปดาห์ 18-24 พ.ค. 58

 

ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)

     ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2558 ทำสัญญาสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 64.80 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 48.06 บาท ลดลงจากปอนด์ละ 65.77 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 48.94 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.47 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.88 บาท
2. ต่างประเทศ

การผลิต

     กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนผลผลิตฝ้ายโลกปี 2557/58 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2558 มี 24.22 ล้านตัน ลดลงจาก 26.22 ล้านตันของปี 2556/57 ร้อยละ 7.63
การค้า 
     กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ฝ้ายโลก ปี 2557/58 ว่ามี 22.30 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 19.70 ล้านตันของปี 2556/57 ร้อยละ 13.20 ด้านการนำเข้า คาดว่าจะมี 7.33 ล้านตัน ลดลงจาก 8.73 ล้านตันของปี 2556/57 ร้อยละ 16.04 ด้านการส่งออก คาดว่าจะมี 7.33 ล้านตัน ลดลงจาก 8.71 ล้านตันของปี 2556/57 ร้อยละ 15.84
บัญชีสมดุลฝ้ายโลก
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 10 เดือน พฤษภาคม 2558)
หน่วย : ล้านตัน
รายการ

ปี 2557/58

ปี 2556/57

ผลต่างร้อยละ

สต็อกต้นปี

22.30

19.70

13.20

ผลผลิต

24.22

26.22

-7.63

ใช้ในประเทศ

25.10

23.74

5.73

นำเข้า

7.33

8.73

-16.04

ส่งออก

7.33

8.71

-15.84

สต็อกปลายปี

23.14

22.30

3.77

ที่มา : Cotton World markets and trade, USDA ประจำเดือนพฤษภาคม 2558

18 - 24 พ.ค. 2558

 
สุกร
 

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 

ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนจัดส่งผลให้สุกรเจริญเติบโตช้า ทำให้ผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  66.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.65 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.19 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.71 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 63.18 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,900 บาท (บวกลบ 64 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ70.50   บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 2.92

 

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อออกสู่ตลาดไม่มากนัก ผลจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นอีกเล็กน้อย เพราะสถานศึกษาต่างๆ เริ่มเปิดภาคเรียน

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัม 41.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.69 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 44.21 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 37.10 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 42.08 บาท (ภาคเหนือไม่มีรายงานราคา) ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 9.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่ไก่
 

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   

ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว 

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 260 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 290 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ  251 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 254 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 269 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท    ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 281 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   

 ไข่เป็ด

 

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 331 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 328  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.91  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 315 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 311 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  317 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 350 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 340 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 2.94

 
 โคเนื้อ
 

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 103.69 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 101.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.98 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 101.17 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 101.92 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 102.02 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 114.29 บาท

 

กระบือ

 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
            ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 80.96 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.51 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.73 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ข่าวสัปดาห์ 18-24 พ.ค.58
ถั่วลิสง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้งคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน 
     ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 16.77 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.04
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ (ชนิดดี) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60 บาท 
     ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา (ชนิดรอง) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51 บาท
2. ต่างประเทศ
     กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานภาวะการผลิตถั่วลิสงโลก ปี 2557/58 ประจำเดือนพฤษภาคม 2558
ว่ามีผลผลิต 41.14 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 41.06 ล้านตัน ของปี 2556/57 คิดเป็นร้อยละ 0.19 หรือคิดเป็นร้อยละ 7.75 ของผลผลิตพืชน้ำมันของโลกรองจากถั่วเหลือง เรปซีด และเมล็ดฝ้าย ซึ่งมีปริมาณ 317.30 ล้านตัน
68.12 ล้านตัน และ 42.05 ล้านตัน ตามลำดับ

ผลผลิตและการกระจายผลผลิตถั่วลิสงโลก

หน่วย : ล้านตัน
รายการ

2557/58

2556/57

ผลต่างร้อยละ

ผลผลิต

41.14

41.06

0.19

นำเข้า

2.46

2.41

2.07

ส่งออก

2.94

2.89

1.73

สกัดน้ำมัน

17.82

17.70

0.68

สต็อกปลายปี

2.49

2.37

5.06

ที่มา : Oilseeds : World Market and Trade, May, 2015.

ผลผลิตถั่วลิสงของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ
หน่วย : ล้านตัน
ประเทศ

2557/58

2556/57

ผลต่างร้อยละ

สาธารณรัฐประชาชนจีน

16.70

16.97

-1.59

อินเดีย

5.40

5.65

-4.42

อื่น ๆ

19.04

18.44

3.25

รวม

41.14

41.06

0.19

ข่าวสัปดาห์ 18-24 พ.ค.58

ถั่วเขียว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่ชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
     ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
     ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่ชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
     ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
     ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่ชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,082.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.98 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,078.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
     ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,082.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.98 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,078.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท

ข่าวสัปดาห์ 18 - 24 พ.ค. 58
 
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ  

  

ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

     ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.58 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.62 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.40 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 289.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,630บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 288.50 ดอลลาร์สหรัฐ (9,621 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 9.00 บาท

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ  

     กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2558/59 ว่ามี 990.40 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 977.42 ล้านตันในปี 2557/58 ร้อยละ 1.33 เนื่องจาก สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ แคนาดา อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ และอาร์เจนตินา มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 123.04 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 119.67 ล้านตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 2.82 เนื่องจาก สหรัฐอเมริกา บราซิล เซอร์เบีย ปารากวัย อินเดีย และพม่า ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เม็กซิโก เกาหลีใต้ อียิปต์ โคลัมเบีย ซาอุดิอาระเบีย ไต้หวัน และแอลจีเรีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย) 
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2558 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุซเชลละ 364.08 เซนต์ (4,823 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 362.92 เซนต์ (4,823 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 แต่ทรงตัวในรูปของเงินบาท

 

บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก

(คาดคะเนเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2558)

หน่วย : ล้านตัน

รายการ

ปี 2558/59

ปี 2557/58

ผลต่างร้อยละ

สต็อกต้นปี

192.50

173.80

10.76

ผลผลิต

989.83

996.12

-0.63

นำเข้า

123.04

119.67

2.82

ส่งออก

123.04

119.67

2.82

ใช้ในประเทศ

990.40

977.42

1.33

สต็อกปลายปี

191.94

192.50

-0.29

ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ


ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี